วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Wednesday 26 April 2016

 Recent Post  12
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Wednesday 26 April 2016



Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล  (Individualized Education Program)


แผน IEP
   •แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น 
   •เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา 
   •ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก 
   •โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
   •คัดแยกเด็กพิเศษ 
   •ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร 
   •ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด 
   •เด็กสามารถทำอะไรได้ / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้ 
   •แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
   •ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก 
   •ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง 
   •การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน 
   •เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น 
   •ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน 
   •วิธีการประเมินผล

ประโยชน์ต่อเด็ก
   •ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน 
   •ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน 
   •ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม 
   •ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
   •เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก 
   •เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
   •ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป 
   •เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก 
   •ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
   •ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ 
   •ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร 
   •เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน

ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
   •รายงานทางการแพทย์ 
   •รายงานการประเมินด้านต่างๆ 
   •บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

2. การจัดทำแผน
   •ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง 
   •กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น 
   •กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม 
   •จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  การกำหนดจุดมุ่งหมาย
    •ระยะยาว
        •กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง 
         –น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้ 
         –น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น 
        –น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
    •ระยะสั้น
        •ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก 
       •เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์

   •จะสอนใคร 
   •พฤติกรรมอะไร 
   •เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด) 
   •พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
   •ใคร มุก 
   •อะไร กระโดดขาเดียวได้ 
   •เมื่อไหร่ / ที่ไหน กิจกรรมกลางแจ้ง 
   •ดีขนาดไหน กระโดดได้ขาละ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที

3. การใช้แผน
   •เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น 
   •นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 
   •แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก 
   •จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
   ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง 
      1.ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ 
      2.ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก 
      3.อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก


4. การประเมินผล
   •โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น 
   •ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล 

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม 
อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน**


ตัวอย่างแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล




กิจกรรมวงกลมบอกตัวตน


รางวัลชมเชย เด็กดี




skills (ทักษะที่ได้รับ)
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
- ทักษะจินตนาการความคิดสร้างสรรค์
-ทักษะการฟัง

Adoption (การนำไปใช้)
- นำความรู้ในวันนี้ไปใช้ในการทำแผนสำหรับเด็กพิเศษได้ต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อธิบายถึงวิธีการเขียนแผนได้อย่างเข้าใจ
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจเรียนและทำกิจกรรมกันทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจถึงการเขียนแผนสำหรับเด็กพิเศษมากยิ่งขึ้น




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น