วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Wednesday 10 February 2016

Recent Post 5
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Wednesday 17 February 2016




Knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
       LD หรือ Learning Disabilities หมายถึง ความบกพร่องทางด้านการเรียนรู้ แสดงออกมาในรูปของปัญหาด้านการอ่าน การเขียน การสะกดคำ การคำนวณและเหตุผลเชิงคณิตศาสตร์ รศ. พญ. ศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ ผู้อำนวยการสถาบันสร้างสรรค์ศักยภาพสมองครีเอทีฟเบรน กล่าวว่า เด็ก LD หรือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เป็นเด็กที่มีวงจรการทำงานของสมองไม่เป็นไปตามที่ควรจะเป็นเซลล์สมองบางส่วนอยู่ผิดที่ ทำให้มีปัญหาในการเรียน เรียนอ่อนบางวิชา หรือหลายๆ วิชา ทั้งที่สติปัญญาปกติ
บางคนมีปัญหาในการอ่านทั้งที่มีสายตาหรือประสาทตาปกติ แต่การแปลภาพในสมองไม่เหมือนคนทั่วไป ทำให้เห็นตัวหนังสือกลับหัวกลับหาง ลอยไป ลอยมา ไม่คงที่ บางครั้งเห็นๆ หยุดๆ มองเห็นตัวหนังสือหายไปเป็นบรรทัด บางครั้งเห็นตัวหนังสือแต่ไม่รู้ความหมายบางคนมีปัญหาการฟัง ทั้งที่การได้ยินปกติ แต่สมองไม่สามารถแยกแยะเสียงสูง- ต่ำ จึงมักเขียนสะกดผิด และไม่ทราบความหมายของคำบางคนมีปัญหาเรื่องทิศทาง ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับภาษา ไม่รู้ว่าซ้ายหรือขวา กะระยะทางไม่ถูก ทำให้เดินชนอยู่บ่อยๆบางคนคำนวณไม่ได้ เพราะไม่เข้าใจสัญลักษณ์ตัวเลข ฯ
          จากการวิจัยในประเทศไทยพบว่า ปัจจุบันมีเด็กไทย โดยเฉพาะในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-2 กว่า 700,000 คน มีความบกพร่องทางการ เรียนรู้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ตามวัย ทั้งที่มีระดับสติปัญญา (IQ) ปกติหรือสูงกว่าปกติได้ในบางคน ซึ่งเป็นอาการของเด็ก LD

สาเหตุของเด็ก LD
       ศ. ดร. ผดุง อารยะวิญญู อาจารย์ประจำภาควิชาการศึกษาพิเศษ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ระบุว่า มีสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ประการแรก คือ กรรมพันธุ์ เด็กบางคนอาจมีญาติผู้ใหญ่ที่ เป็น LD แต่สังคมในสมัยก่อนยังไม่รู้จัก LD ประการที่สอง การที่เด็กคลอดก่อนกำหนด ทำให้เซลล์สมองผิด ปกติ และสุดท้ายคือ สารเคมีเข้าสู่ร่างกายและสะสมในปริมาณที่มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารตะกั่วซึ่งมาจากอากาศและอาหารที่ปนเปื้อนสารเหล่านี้
       นอกจากนี้ โรค LD ยังอาจมีสาเหตุมาจากเคยมีโรคติดเชื้อหรืออุบัติเหตุรุนแรงที่สมอง เป็นโรคลมชัก โรค LD มักพบร่วมกับโรคสมาธิสั้น โรคกระตุก (Tic Disorders) และกลุ่มที่มีความล่าช้าในภาษาและการพูด โดยเฉพาะกับโรคสมาธิสั้น พบว่าเป็นร่วมกันถึง 30-40% คือในเด็กที่เป็น LD หรือสมาธิสั้น 10 คน จะมี 4 คน ที่จะเป็นทั้งสมาธิสั้นและ LD

อาการและพฤติกรรมของเด็ก LD
       อาการของเด็ก LDจะมีมาตั้งแต่กำเนิด ทั้งที่มี IQ และร่างกายทุกส่วนปกติ และจะปรากฎชัดเมื่อเข้าเรียน คือ เบื่อการอ่าน อ่านหนังสือตะกุกตะกักไม่สมกับวัย เมื่อพ่อแม่ ครู ให้อ่านหรือทำการบ้าน ก็จะไม่ยอมอ่าน ทำให้สอบตก ถึงขั้นต้องเรียนซ้ำชั้น โดยวิชาที่เป็นปัญหามากที่สุด คือ คณิตศาสตร์ เนื่องจากอ่านไม่ออก จับความไม่ได้ ตีความโจทย์ไม่เป็น ทั้งที่เมื่ออ่านให้ฟังก็สามารถตอบได้ถูก

อาการของ LD อาจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

1. มีปัญหาในการอ่านหนังสือ (Dyslexia) 
        อาจจะอ่านไม่ออก หรืออ่านได้บ้าง แต่สะกดคำไม่ถูก ผสมคำไม่ได้ สลับตัวพยัญชนะ สับสนกับการผันสระc]t วรรณยุกต์ บางทีสนใจแต่การสะกดคำ ทำให้อ่านแล้วจับความไม่ได้

2.มีปัญหาในการเขียนหนังสือ (Dysgraphia) 
       ทั้งๆที่รู้ว่าจะเขียนอะไร แต่ก็เขียนไม่ได้ หรือเขียนได้ช้า เขียนตกหล่น เขียนพยัญชนะสลับกัน หรือคำเดียวกันแต่เขียนสองครั้งไม่เหมือนกัน บางคนเขียนแบบสลับซ้ายขวาเหมือนส่องกระจก ลายมือโย้เย้ ขนาดของตัวอักษรไม่เท่ากัน ขึ้นลงไม่ตรงบรรทัด ไม่เว้นช่องไฟ อาจจะเกิดจากมือและสายตาทำงานไม่ประสานกัน หรือการรับภาพของสมองไม่เหมือนคนอื่นๆ

3. มีปัญหาในการคำนวณ (Dyscalculia) 
     อาจจะคำนวณไม่ได้เลย หรือทำได้แต่สับสนกับตัวเลข ไม่เข้าใจสัญลักษณ์ ไม่เข้าใจค่าของตัวเลข บางคนสับสนตั้งแต่การจำเครื่องหมายบวก ลบ คูณ หาร ไม่สามารถจับหลักการได้ เช่น หลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อยต่างกันอย่างไร บางคนบวกลบเป็น เข้าใจเครื่องหมาย แต่ตีโจทย์คณิตศาสตร์ไม่ได้ เช่น ถามว่า 2+2 เท่ากับเท่าไร ตอบได้ แต่ถ้าบอกว่ามีส้มอยู่ 2 ลูก ป้าให้มาอีก 2 ลูก รวมเป็นกี่ลูก เด็กกลุ่มนี้จะตอบไม่ได้

4. หลายๆ ด้านร่วมกัน
อาการที่มักเกิดร่วมกับ LD
  •แยกแยะขนาดสีและรูปร่างไม่ออก
  •มีปัญหาความเข้าใจเกี่ยวกับเวลา
  •เขียน/อ่านตัวอักษรสลับซ้าย-ขวา
  •งุ่มง่ามการประสานงานของกล้ามเนื้อไม่ดี
  •การประสานงานของสายตา-กล้ามเนื้อไม่ดี
  •สมาธิไม่ดี (เด็ก LD ร้อยละ 15-20 มีสมาธิสั้น ADHD ร่วมด้วย)
  •เขียนตามแบบไม่ค่อยได้
  •ทำงานช้า



7. ออทิสติก (Autistic)


•หรือ ออทิซึ่ม (Autism)
•เด็กที่ไม่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
•ไม่สามารถเข้าใจคำพูด ความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น
•ไม่สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างและสังคม
•เด็กออทิสติกแต่ละคนจะมีเอกลักษณ์ของตนเอง
•ติดตัวเด็กไปตลอดชีวิต

"ไม่สบตา  ไม่พาที  ไม่ชี้นิ้ว"

•ทักษะภาษา 
•ทักษะทางสังคม
•ทักษะการเคลื่อนไหว
•ทักษะการรับรู้เกี่ยวกับรูปทรง ขนาดและพื้นที่ 

ลักษณะของเด็กออทิสติก
•อยู่ในโลกของตนเอง
•ไม่เข้าไปหาใครเพื่อให้ปลอบใจ
•ไม่เข้าไปเล่นในกลุ่มเพื่อน
• ไม่ยอมพูด
•เคลื่อนไหวแบบซ้ำๆ

เกณฑ์การวินิจฉัยออทิสติกองค์การอนามัยโลกและสมาคมจิตแพทย์อเมริกา

ความผิดปกติของปฏิสัมพันธ์ทางสังคมอย่างน้อย 2 ข้อ
  –ไม่สามารถใช้ภาษาท่าทางสื่อสารทางสังคมกับบุคคลอื่น 
  –ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลให้เหมาะสมตามวัย
  –ขาดความสามารถในการแสวงหาการมีกิจกรรม ความสนใจ และความสนุก สนานร่วมกับผู้อื่น
  –ขาดทักษะการสื่อสารทางสังคมและทางอารมณ์กับบุคคลอื่น

ความผิดปกติด้านการสื่อสารอย่างน้อย 1 ข้อ
  –มีความล่าช้าหรือไม่มีการพัฒนาในด้านภาษาพูด
  –ในรายที่สามารถพูดได้แล้วแต่ไม่สามารถที่จะเริ่มต้นบทสนทนาหรือโต้ตอบบทสนทนากับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
  –พูดซ้ำๆ หรือมีรูปแบบจำกัดในการใช้ภาษา เพื่อสื่อสารหรือส่งเสียงไม่เป็นภาษาอย่างไม่เหมาะสม
  –ไม่สามารถเล่นสมมุติหรือเล่นลอกตามจินตนาการได้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการ

มีพฤติกรรม ความสนใจ และกิจกรรมที่ซ้ำๆ และจำกัด อย่างน้อย 1 ข้อ
  –มีความสนใจที่ซ้ำๆ อย่างผิดปกติ
  –มีกิจวัตรประจำวันหรือกฎเกณฑ์ที่ต้องทำโดยไม่สามารถยืดหยุ่นได้ ถึงแม้ว่ากิจวัตรหรือกฎเกณฑ์นั้นจะไม่มีประโยชน์
  –มีการเคลื่อนไหวร่างกายซ้ำๆ
  –สนใจเพียงบางส่วนของวัตถุ

พฤติกรมการทำซ้ำ
  •นั่งเคาะโต๊ะ หรือโบกมือนานเป็นชั่วโมง
  •นั่งโยกหน้าโยกหลังเป็นเวลานาน
  •วิ่งเข้าห้องนี้ไปห้องโน้น
  •ไม่ยอมให้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อม

พบความผิดปกติอย่างน้อย 1 ด้าน (ก่อนอายุ 3 ขวบ)
  –ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
  –การใช้ภาษาเพื่อสื่อความหมาย
  –การเล่นสมมติหรือการเล่นตามจินตนาการ

Autistic Savant
  -กลุ่มที่คิดด้วยภาพ (visual thinker) จะใช้การการคิดแบบอุปนัย (bottom up thinking)
  -กลุ่มที่คิดโดยไม่ใช้ภาพ (music, math and memory thinker) จะใช้การคิดแบบนิรนัย (top down thinking)


skills (ทักษะที่ได้รับ)
  -ทักษะการคิดวิเคราะห์
  -ทักษะการ ถาม-ตอบ
  

Adoption (การนำไปใช้)
- ได้นำไปใช้เป็นแนวทางเมื่อเราได้เจอเด็กพิเศากลุ่ม LD และ ออทิสติก ต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อธิบายถึงเนื้อหาได้อย่างเข้าใจ แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนดีมาก
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์มากขึ้น



วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Wednesday 3 February 2016

Recent Post 4
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Wednesday 3 February 201ุ6



ประเภทของเด็กที่มัความสามารถพิเศษ

4.เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด และภาษา
เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
  1.ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง
  2.ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
  3.ความบกพร่องของเสียงพูด

ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดเป็นถ้อยคำได้
1.การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย
2.ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ Aphasia
5.เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

โรคลมชัก เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติขแงระบบประสาท
1.การชักในช่วงสั้นๆ
2.การชักแบบรุนแรง
3.อาการชักแบบ Paritial Complex
4.อาการชักไม่รู้สึกตัว
5.ลมบ้าหมู
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐานในกรณีเด็กมีอาการชัก
-จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นฐานที่ไม่มีของแข็ง
-ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
-หาหมอนนิ่มๆรองศรีษะ
-จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม

ซีพี Cerebral Palsy  คือ การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หลังคลอด
1.กลุ่มแข็งแรง
-อัมพาตครึ่งซีก
-อัมพาตครึ่งท่อนบน
-อัมพาตครึ่งท่อนล่าง
-อัมพาตทั้งตัว

2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง  
athetoid อาการขยุกขยิกช้าๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน

3.กลุ่มอาการแบบผสม

กล้ามเนื้ออ่อนแรง เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อๆ เสื่อมสลายตัว เดินไม่ได้ นอนอยู่กับที่ จะมีอาการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม

โรคระบบกระดูกกล้ามเนื้อ ระบบกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก กระดูกสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกสันหลังส่วนล่างไม่ติด

โปลิโอ  มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญา ยืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
-โรคระบบประสาท
-โรคเบาหวาน
-โรคหัวใจ
-โรคมะเร็ง
-เลือดไหลไม่หยุด

แขนขาด้วนแต่กำเนิด 
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
-มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
-ท่าเดินคล้ายกรรไกร
-เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
-ไอเสียงแห้งบ่อยๆ
-มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
-หกล้มบ่อยๆ
skills (ทักษะที่ได้รับ)
-ทักษะการคิดวิเคราะห์
-ทักษะการ ถาม-ตอบ
-ทักษะการฟัง

Adoption (การนำไปใช้)
- เรียนรู้ในวันนี้ไปใช้ในการเรียนการสอน และนำความรู้ไปใช้กับเด็กต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) มีการสอนและอธิบายเนื้อหาได้เข้าเกี่ยวกับประเภทของเด็กพิเศษได้เข้าใจมากขึ้น
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจเรียนในระหว่างอาจารย์สอนกันทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์มากขึ้น

วันเสาร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

Wednesday 27 Janury 2016

Recent Post 3
Creative Thinking Experiences Management for Early Childhood
Wednesday 27 Janury 2016

knowledge (ความรู้ที่ได้รับ)

     ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
แบ่งได้ 2 กลุ่มพิเศษ
1.กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง  
 เด็กปัญญาเลิศ
ลักษณะ พัฒนาการทางร่างกายและจิตใจสูงกว่าเด็กปกติ เรียนรู้สิ่งต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

2.เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา มี2 กลุ่ม
  เด็กเรียนช้า  เกิดจากภายนอกได้แก่ เศรษฐกิจครอบครัว  ภายใน พัฒนาการช้า การเจ็บป่วย
  เด็กปัญญาอ่อน แบ่งตามระดับสติปัญญา IQ ได้4 กลุ่ม
1.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ ต่ำกว่า20
2.เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-30
3.เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49                                        
4.เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย IQ 50-70

ดาวน์ซินโดรม Down Syndrome
สาเหตุ ความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง Trisomy 21
อาการ ศีรษะเล็ก หนเาแบน จมูกเล็ก ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก ใบหูเล็กอยู่ต่ำ เพดานปากโนกนูน
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
      -การเจาะเลือดของมารดาในครรภ์
     - อัลตราซาวน์
     - การตัดชิ้นเนื้ิอรก
     -การเจาะน้ำคร่ำ

2. เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มี 2 ประเภท
เด็กหูตึง  คือ เด็กที่สูญเสียทางการได้ยิน แต่สามารถรับข้อมูลได้ โดยใช้เครื่องช่วยฟัง
เด็กหูหนวก คือ เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้ ระดับการได้ยิน 91 db ขึ้นไป

3. เด็กบกพร่องทางการเห็น มี 2 ประเภท
เด็กตาบอด คือ เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย หรือมองเห็นบ้าง มีสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า 5 องศา มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60,20/200 ลงมาจนถึงบอกสนิท
 เด็กตาบอดไม่สนิท เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา สามารถมองเห็ยบ้างไม่เท่าเด็กปกติ 

Snellen's Chart

ลักษณะเด็กบกพร่องทางการเห็น
- เดินงุ่มง่าม และซนสะดุดวัตุ
- มองเห็นสีผิดไปจากปกติ
- มักบ่นปวดศรีษะ คลื่นไส้ ตาลาย คันตา
- ก้มศรีษะชิดกับงาน หรือของเล่นที่วางอยู่ตรงหน้า


Skills (ทักษะที่ได้รับ)
-ทักษะการถาม-ตอบ
-ทักษะการฟัง

Adoption (การนำไปใช้)
- นำการเรียนรู้เกี่ยวกับประเภทของเด็กในวันนี้ไปปรับใช้เพื่อการสอนเด็ก และนำไปเรียนรู้ต่อไป

Evaluation (การประเมิน)
Instructor Rating (ประเมินผู้สอน) อธิบายเนื้อหาได้เข้าใจ แต่งกายสุภาพ
Rating friends (ประเมินเพื่อน) ตั้งใจเรียนเรื่องประเภทของเด็กพิเศษทุกคน
Self-evaluation (ประเมินตนเอง) เข้าใจในเนื้อหามากขึ้น